เรื่องของหมาในสำนวนไทย
พรสุดา วงษาชัย (ผู้เขียน)
“หมา” หรือ
“สุนัข” เป็นสัตว์เลี้ยงที่คนนิยมเลี้ยงมากที่สุดก็ว่าได้
เมื่อพูดถึงสัตว์เลี้ยงอย่างหมาหลายคนคงนิยมชมชอบในความน่ารักซื่อสัตย์
สามารถเฝ้าบ้าน ควบคุมโจรขโมยได้ บางครั้งก็มาพร้อมกับความซุกซน
แต่ก็แฝงไปด้วยความฉลาดเพราะเหตุเหล่านี้นั้นเองจึงทำให้หลายๆคนชอบเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้
หมา
หรือ สุนัข ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2542,
ย่อหน้า 1) ได้ให้ความหมายไว้ว่า
เป็นคำนาม ซึ่งแปลว่า ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Canidae ลำตัวมีขนปกคลุม
มีเขี้ยว 2
คู่ ตีนหน้ามี 5
นิ้ว ตีนหลังมี 4
นิ้ว ซ่อนเล็บไม่ได้ อวัยวะเพศของตัวผู้มีกระดูกอยู่ภายใน 1
ชิ้น
หมากับคนไทยนั้นมีความใกล้ชิดและผูกพันกันเป็นอย่างมาก
จึงมีสำนวนไทยมากมายที่เกี่ยวกับหมาตัวอย่างเช่น หมากัดอย่ากัดตอบ หมาหยอกไก่
หมาหวงก้าง หมาเหาใบตองแหง เป็นต้น
“หมากัดอย่ากัดตอบ” หมายถึง
เมื่อคนต่ำคนเลวคนพาล ฯลฯ ทำร้ายก็อย่าได้ทำร้ายตอบ ทำร้าย หมายถึง
ทางกายหรือวาจาก็ได หมาในที่นี่คืออุปลักษณ์ของคนพาล คนต่ำคนเลว นั่นเอง
“หมาจนตรอก” หมายถึง
ต่อสู้จนตัวไมมีทางหลีกเลี่ยง สำนวนนี้เอาหมามาเปรียบ
คือหมาเมื่อถูกไล่ไปจนอยู่ในตรอก ไมมีทางไปต่อได้ ก็จะหันมาสูด้วยฤทธิ์ของตัว
จนไมมีทางจะหลีกเลี่ยงได จึงพูดกันเป็นสำนวนว่า “หมาจนตรอก” หมาจึงเป็นอุปลักษณ์ของ
คนไมมีทางสู
“หมาหัวเน่า” หมายถึง
เป็นที่น่ารังเกียจเข้ากับใครไมไดไมมีใครคบหาสมาคม
หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนที่น่ารังเกียจ

ภาพจาก Dogilike.com
“หมาหมู่” หมายถึง
รุมกันเป็นพวก สำนวนนี้มาจาก
หมาตัวใดที่เขาต่อสู้มักจะมีพวกเข้ามาช่วยจึงเกิดที่ว่า “หมาหมู” ใช้เป็นสำนวนหมายถึง
คนที่เขาต่อสู้แล้วมีพวกเข้าช่วย หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนขี้ขลาด

ภาพจาก sertsak - WordPress.com
“หมาหยอกไก่” หมายถึง
หยอกล้อเป็นเชิง เป็นความหมายนัย เป็นทีเล่นทีจริง สำนวนนี้ใช้กับผู้ชาย
หรือผู้ใหญ่ หยอกล้อหญิงรุ่นสาว เช่น จับมือเป็นทีว่าทำอย่างผู้ใหญ่เอ็นดูเด็ก
หมาเป็นอุปลักษณ์ของผู้ชายอายุมาก ที่ชอบหยอกเด็กเป็นทีเล่นทีจริง
“หมาหวงก้าง” หมายถึง
หวงหรืองกจะเอาคนเดียวไมให้ใครมายุ่งเกี่ยว
สำนวนนี้มาจากหมาที่กิก้างปลาแล้วคอยระวังไมให้ตัวอื่นมาแย่งไป หมาเป็นอุปลักษณ์
ของคนกีดกันอื่น
“หมาเหาใบตองแหง” หมายถึง
เอะอะเป็นทีว่าเกงกล้าไปอย่างนั้นเอง ไมมีทางทำอะไรได ใบตองแหง คือ
ใบตองกล้วยที่ตายแห้งตายไปแล้วไม่มีอะไรเวลาลมพัดจะเสียดสีกันมีเสียงดัง
เมื่อหมาไดยินเสียงมักจะเหา
“หมาเห่าไม่กัด” หมายถึง
พูดเอะอะดูเก่งกลาแสดงว่าเอาจริงเอาจัง ที่แท้จริงแล้วก็ไมเอาจริงเลย
ที่มาของสำนวนนี้ มาจากข้อสังเกตลักษณะของหมาที่ถือกันว่าหมาเห่าเก่ง
หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนที่ดีแต่พูด
“หุงข้าวประชดหมา” หรือ
สำนวนเต็มที่ว่า “หุงข้าวประชดหมา
ปิ้งปลาประชดแมว” หมายถึงทำประชดประชันแต่เสียประโยชน
หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนที่ไดรับผลประโยชนหรือผลพลอยไดจากการทำประชดประชันนั่นเอง
“เดินตามผู้ใหญ่หมาไมกัด” หมายถึงประพฤติตามผู้ใหญ่หรือผู้มีประสบการณ์มาก่อน
ยอมปลอดภัย
หมาเป็นอุปลักษณ์ของภัยอันตราย
“ใสเกียร์หมา” หมายถึง
วิ่งเร็วเต็มที่แบบหมาวิ่ง หมาเป็นอุปลักษณ์ของความเร็ว เพื่อหนีผู้อื่น
“สัญชาติหมาอดขี้ไมได้” หมายถึง
คนชั้นต่ำก็อดที่จะประพฤติในทางต่ำไมไดเหมือนกับหมาที่อดกินขี้ไมได
“ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้” หมายถึง
ไมมีเหตุการณบางอย่างย่อมไมมีใครกล่าวถึง
หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนที่เป็นผู้กล่าวถึงเหตุการณร้าย
“หางจุกตูด” หมายถึง
คนขี้ขลาดหรือขี้กลัว ไมกล้าสู้ หรือเมื่อสูไมไดก็วิ่งหนี
สำนวนนี้มาจากลักษณะของสุนัขเวลากลัวเมื่อเห็นสุนัขที่ใหญ่เข้ามาก็จะทำตัวลีบ
เอาหางปิดก้นถ้าหางสั้นก็จุกก้นพอดี หมาเป็นเป็นลักษณ์ของอาการของคนขี้ขลาด
“เล่นกับหมาหมาเลียปาก” หมายถึง
การลดตัวลงไปเล่น ให้ความเป็นกันเองกับคนที่ต่ำกว่าอาจจะถูกตีเสมอลามปาม
สำนวนนี้เลียนแบบธรรมชาติของหมา เมื่อเราเล่นกับมัน มักถูกหมาเลียปากเรา
หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนที่ต่ำกว่า

ภาพจาก Dogilike.com
“กินเหมือนหมู
อยู่เหมือนหมา” หมายถึง
ไมมีระเบียบ ไม่เรียบร้อย หมูเป็นสัตว์ที่กินมูมมาม
สวนหมาเป็นสัตว์ที่นอนไดไมเลือกที่แม้จะสกปรก หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนสกปรก
“ขี้ไมให้หมากิน” หมายถึง
ตระหนี่แม้แต่อุจจาระก็ไมยอมให้หมากิน หมาเป็นอุปลักษณ์ของผู้รับของเศษเหลือ
“หมาลอบกัด” หมายถึง
ถูกลอบทำร้าย หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนที่ลอบทำร้ายผู้อื่น
“เหมือนลูกหมาตกน้ำ” หมายถึง
เปียกโชกทั้งตัว หมาเป็นอุปลักษณ์ของคนที่มีสภาพเปียกโชกทั้งตัว
“แมวห้าหมาหก” หมายถึงความเชื่อว่าเป็นจำนวนที่เป็นอัปมงคล
หมาเป็นอุปลักษณ์ของสิ่งที่เป็นอัปมงคล
ลักษณะของหมาที่คนไทยนำมาผูกเป็นสำนวน มี 2
แบบคือ ลักษณะทางรูปลักษณ์ และทางพฤติกรรม หรือ ลักษณะนิสัย
ตัวอย่างรูปลักษณ์ของหมา ที่นำไปเชื่อมโยงเป็นสำนวน เช่น สำนวน “หมาหัวเน่า” มีความหมายแฝงคือคนน่ารังเกียจ
ซึ่งตรงกับรูปลักษณ์หมาหัวเน่าก็จะเป็นที่น่ารังเกียจ
ส่วนตัวอย่างทางพฤติกรรม หรือ ลักษณะนิสัยของหมา
ที่นำไปเชื่อมโยงเป็นสำนวน เช่น สำนวน “หมาเหาใบตองแหง” ความหมายแฝงคือคนเก่งไม่จริง
ซึ่งตรงกับลักษณะนิสัยของหมา คือ หมาชอบเหา เห็นอะไรเคลื่อนไหวนิดหน่อย
ก็เห่านั่นเอง
หมาในสังคมไทยนั้น มีความใกล้ชิดกับคน
โดยเฉพาะคนที่เป็นเจ้าของ
คนไทยมักเลี้ยงหมาแบบปล่อยอิสระมากกว่าที่จะให้อยู่ในขอบเขตอันจำกัด
และหมาก็มักจะติดตามเจาของไปทุกแห่งทุกหนหรือมักเลี้ยงหมาเพื่อเฝ้าบ้าน
ให้เป็นเพื่อน เป็นผู้รับใช้ ที่จริงแล้วหมามีประโยชนต่อคนมากมาย
หมาบางตัวอาจตายแทนเจาของไดบางตัวเต็มไปด้วยความจงรักภักดีแต่เพราะเหตุใดคนไทยจึงมอหมาในแงลบและเห็นแต่พฤติกรรมที่ไมดีของหมาทั้ง
ๆ ที่หมาก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งไม่ได้ต่างไปจากสัตว์ชนิดอื่นเลย
เอกสารอ้างอิง
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). หมา.
สืบค้น ตุลาคม 31,
2559, จาก
http://www.royin.go.th/?knowledges-category=thai-language-
use&paged=42
สำนวนที่เกี่ยวกับสัตว์. (2557). สืบค้น
ตุลาคม 31, 2559, จาก
http://porrasit.myreadyweb.com/page-24785.html